จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐาน ของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษ ที่ 16 - 18 โดยมี ร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถานโบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงศิลาจารึกซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานร่วมสมัย ที่ใกล้เคียงเหตุการณ์มากที่สุด ซึ่งก่อนการสถาปนา กรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.1893นั้น ได้มีบ้านเมือง ตั้งอยู่ก่อนแล้วมีชื่อเรียกว่าเมืองอโยธยาหรืออโยธยา ศรีรามเทพนคร หรือเมืองพระรามมีทึ่ตั้งอยู่บริเวณ ด้านตะวันออกของเกาะ เมืองอยุธยามีบ้านเมือง ที่ความเจริญทางการเมืองการปกครอง และมีวัฒนธรรม ที่รุ่งเรืองแห่งหนึ่งมีการใช้กฎหมายใน การปกครอง บ้านเมือง 3 ฉบับ คือพระอัยการลักษณะเบ็ดเสร็จ พระอัยการลักษณะทาส และพระอัยการ ลักษณะกู้หนี้ |
---|
|
---|
ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนโยบายบูรณะโบราณสถานภาย ในเมืองอยุธยา
เพื่อเป็นการฉลองยี่สิบห้าพุทธศตวรรษ ประจวบกับในปี พ.ศ.2498 นายกรัฐมนตรีประเทศพม่าเดินทาง
มาเยือนประเทศไทยและได้มอบเงิน จำนวน 200,000 บาท เพื่อปฏิสังขรณ์วัดและองค์พระมงคลบพิตร
เป็นการเริ่มต้นบูรณะโบราณสถานใน อยุธยาอย่าง จริงจัง ซึ่งต่อมากรมศิลปากรเป็นหน่วยงานสำคัญ
ในการดำเนินการ จนองค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก
มีมติ ให้ประกาศขึ้นทะเบียนนคร ประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา เป็น "มรดกโลก"
เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 มีพื้นที่ ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ทรงสถาปนา กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893 กรุงศรีอยุธยา เป็นศูนย์กลางของ ประเทศสยาม สืบต่อยาวนานถึง 417 ปี มีพระมหากษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ จาก 5 ราชวงศ์ คือ ราชวงศ์อู่ทอง ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ราชวงศ์สุโขทัย ราชวงศ์ ประสาททอง และราชวงศ์บ้านพลูหลวง สูญเสียเอกราชแก่พม่า 2 ครั้ง ครั้งแรก ใน พ.ศ.2112 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกู้เอกราช คืนมา ได้ใน พ.ศ.2127 และเสีย กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ใน พ.ศ.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราชได้ ในปลายปีเดียวกัน แล้วทรงสถาปนา กรุงธนบุรีเป็นราชธานี แห่งใหม่ กวาดต้อนผู้คน จากกรุงศรีอยุธยาไปยังกรุงธนบุรี เพื่อสร้างบ้านเมืองแห่งใหม่ ่ให้มั่นคง แต่กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ได้ กลายเป็นเมืองร้าง ยังมีคน ที่รักถิ่นฐานบ้านเดิม อาศัยอยู่ และมีราษฎรที่หลบหนี้ไปอยู่ตามป่า กลับเข้ามาอาศัย อยู่รอบ ๆ เมือง รวมกันเข้าเป็นเมือง จนทางการ ยกเป็นเมืองจัตวา เรียกว่า "เมืองกรุงเก่า" |
---|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น