ชื่องาน ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่จัดงาน วันที่ ๑๓ - ๑๕ เมษายน ๒๕๕๓ สถานที่จัดงาน รอบเกาะเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดทองบ่อ ตำบลเสากระโดง อำเภอบางประอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรม ทำบุญตักบาตรหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ปล่อยนก ปล่อยปลา รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ชมขบวนแห่ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า เล่นน้ำสงกรานต์กับช้าง ชมประเพณีแห่หงส์ ธงตะขาบ การแต่งกายแบบมอญ ร่วมทำบุญ ตักบาตรแบบมอญ สรงน้ำพระจากราง ไม้ไผ่ ที่วัดทองบ่อ สงกรานต์นี้ มาทำบุญ ไหว้พระ แต่งไทย คลายร้อนด้วยการเล่นนํ้ากับช้างและเที่ยวตลาดที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยากันดีไหม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สำนักงานพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดจัด งานประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2553 ซึ่งมีการจัดกิจกรรมเพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวที่สนใจเดินทางมาท่องเที่ยวที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในสถานที่ต่าง ๆ ที่จัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ ดังนี้ 1. เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมสงกรานต์ในวันที่ 13 เมษายน 2553 ขอเชิญร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 699 รูป บริเวณหน้าวิหารพระมงคลบพิตร และรดนํ้าขอพรผู้สูงอายุหน้าสำนักงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา พร้อมชมกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย อาทิ เล่นนํ้ากับช้างที่วังช้างอยุธยา แลเพนียด และในวันที่ 14-15 เมษายน 2553 ตลอดเส้นทางรอบเกาะเมือง จัดจุดเล่นนํ้าสงกรานต์รอบเกาะเมืองพร้อมชมการแสดง บริเวณหน้าวังจันทรเกษม และใต้สะพานปรีดีธำรง 2. ที่บริเวณด้านหน้าเรือนทรงไทย ททท.สำนักงานพระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 13-15 เมษายน 2553 ขอเชิญผู้สนใจร่วมเล่นนํ้าสงกรานต์กับช้างจากวังช้างอยุธยา แลเพนียด 3. ตลาดนํ้าคลองสระบัว จัดกิจรรมสงกรานต์ในวันที่ 13-15 เมษายน 2553 ขอเชิญผู้สนใจร่วมทำบุญและถวายภัตตาหารเพล ในวันที่ 13 เมษายน 2553และสรงนํ้าพระตามแบบฉบับชาวตลาดนํ้าคลองสระบัวและรดนํ้าขอพรผู้สูงอายุ ชมขบวนนางสงกรานต์ทางเรือที่ใช้ชื่อว่า “น้อมจิตบูชา 7 ธิดามหาสงกรานต์” และรับประทานอาหารหลากรสพร้อมชมการแสดงละครเวทีกลางนํ้า 4. วัดทองบ่อ ตำบลเสากระโดง อำเภอบางปะอิน ในวันที่ 14 เมษายน 2553 จัดพิธีทำบุญตักบาตรพระสงฆ์แบบมอญ พร้อมชมประเพณีแห่โหน่ สรงนํ้าพระสงฆ์จากรางไม้ไผ่ซึ่งมีที่เดียวในอยุธยา และสัมผัสกับการแต่งกายแบบมอญ และชิมอาหารพื้นบ้านและข้าวแช่ชาวมอญ 5. ตลาดโก้งโค้ง จัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ในวันที่ 13-15 เมษายน 2553 ขอเชิญผู้สนใจร่วมทำบุญตักบาตร สรงนํ้าพระและรดนํ้าขอพรผู้สูงอายุ ในวันที่ 14 เมษายน 2553 พร้อมชมรำวงย้อนยุคทุกวันวันละ 3 รอบ คือ 10.30 น. 13.00 น. และ 15.00 น. รวมทั้งเลือกซื้ออาหารโบราณจากชาวบ้านในตลาดโก้งโค้งอย่างสนุกสนาน และรื่นเริงกับกิจกรรมอื่น ๆ มากมายและสามารถเดินทางไปทำบุญแบบมอญที่วัดทองบ่อและชมพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านชาวมอญเพิ่มเติมได้อีกด้วย 6. ตลาดนํ้ากรุงเก่าวัดท่าการ้อง จัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ในวันที่ 13-15 เมษายน 2553 ขอเชิญผู้สนใจร่วมทำบุญตักบาตร สรงนํ้าพระ การละเล่นพื้นบ้าน พร้อมเลือกซื้ออาหารรสเลิศจากชาวบ้าน และชมการแสดงจากนักเรียนเมืองกรุงเก่าอย่างสนุกสนาน นายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า การจัดงาน “เทศกาลสงกรานต์กรุงเก่า” ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาปีนี้ มีการจัดงานเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวในช่วงวันสงกรานต์ในหลายพื้นที่ ทั้งในเกาะเมืองและนอกเกาะเมือง เช่น นอกเกาะเมืองที่ตลาดโก้งโค้งที่มีความเป็นเอกลักษณ์ สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปชมประเพณีสงกรานต์ชาวมอญพร้อมชิมข้าวแช่และร่วมทำบุญที่วัดทองบ่อ หรือจะไปร่วมทำบุญที่ตลาดนํ้ากรุงเก่าวัดท่าการ้องที่จัดกิจกรรมเพื่อเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปสัมผัสและเยี่ยมชมบรรยากาศแบบสบายๆในช่วงนี้ นายสมทรง สรรพโกศลกุล นายกเทศมนตรีเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ปีนี้ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา และหน่วยงานในจังหวัด จัดงานสงกรานต์ในวันที่ 13-15 เมษายน 2553 โดยในวันที่ 13 เมษายน 2553 ช่วงเช้ามีพิธีทำบุญตักบาตรที่บริเวณหน้าวิหารพระมงคลบพิตร ในช่วงบ่ายมีกิจกรรมมากมายที่บริเวณด้านหน้าสำนักงานเทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา เช่น การรดนํ้าขอพรผู้สูงอายุ พร้อมร่วมชมการแสดงต่าง ๆ และกิจกรรมเล่นนํ้ากับช้างที่มีเอกลักษณ์และได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอย่างดี นางสาวจุฑาทิพย์ เจริญลาภ ผู้อำนวยการ ททท. สำนักงานพระนครศรีอยุธยา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปีนี้จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจัด “งานสงกรานต์กรุงเก่า” ใน 6 พื้นที่ดังกล่าวข้างต้น จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเดินทางมาท่องเที่ยว “งานสงกรานต์กรุงเก่า” ประจำปี 2553 ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2553 ด้วยการมาทำบุญไหว้พระ แต่งไทยคลายร้อนด้วยการเล่นนํ้ากับช้างและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา |
วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
วัฒนธรรมและประเพณี
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น